วิสัยทัศน์ / ปรัชญา
|
วิสัยทัศน์โรงเรียนวัดฤทธิ์ (คําหมื่นปทุมานุสสรณ์)
“การศึกษา” ถือเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า กระทรวงศึกษาธิการจึงมุ่งมั่นใช้การศึกษาเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ และน้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการดําเนินงาน พร้อมที่จะเดินหน้าขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” “เพื่อเป้าหมายในการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต” ภายใต้นโยบายหลัก คือ “ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา”และ “ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง” มุ่งเน้น “การเพิ่มเครือข่ายทางการศึกษา” เพิ่มการมีส่วนร่วม สร้างภาคีเครือข่าย โดยนํางานวิจัยเป็นฐาน มีการทำงานเป็นทีม สร้างบรรยากาศการทำงานอย่างมีความสุข และสร้างองค์กรแห่งวัฒนธรรม เพื่อ “การศึกษาที่เท่าเทียม” พัฒนาคนไทยทุกคน ในทุกช่วงวัย ให้ผู้เรียน “ฉลาด รู้ฉลาดคิด ฉลาดทำ” พัฒนา ส่งเสริม และสร้างความเสมอภาคเพื่อ “ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพการศึกษา” “ปฏิวัติการศึกษาแก้ปัญหาประเทศ” เพื่อให้ประเทศมีความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จากนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (QuickPolicy) โรงเรียนวัดฤทธิ์(คําหมื่นปทุมานุสสรณ์) ได้นํานโยบายการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยนําเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๘๐) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากร ที่มุ่งพัฒนา ให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง และมีคุณภาพ มีทักษะที่จําเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ และเป็นไปตามหลักการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มุ่งเน้นให้หน่วยงานทางการศึกษาทุกระดับบูรณาการการทำงานเพื่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โรงเรียนวัดฤทธิ์(คําหมื่นปทุมานุสสรณ์) ได้นําจุดเน้นดังกล่าวมากำหนดเป็นแนวทางในการบริหารจัดการสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหน่วยงานต้นสังกัด และบริบทของสถานศึกษา วิเคราะห์ภารกิจของสถาน ศึกษาเพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางการดําเนินงานตามแนวทางการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์จึงกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าประสงค์ กลยุทธ์ และแผนงาน หรือโครงการ ดังนี้
วิสัยทัศน์
"โรงเรียนวัดฤทธิ์ฯ น้อมนําศาสตร์พระราชาสู่การจัดการศึกษา
พัฒนาคุณภาพผู้เรียน สร้างคนดี มีความสุข ”
ปรัชญาของโรงเรียน
"สุวิชาโน ภวังโหติ"
ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ
คำขวัญนี้เป็นสุภาษิตภาษาบาลีที่เปี่ยมด้วยปัญญาและความหมายลึกซึ้ง ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน
คำว่า "ผู้รู้ดี" ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ผู้มีความรู้ในตำราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ที่รู้จัก ใช้ความรู้ด้วยปัญญา ประพฤติดี มีจิตใจงาม และแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
ผู้ที่รู้จักเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เข้าใจโลก เข้าใจตน และเข้าใจผู้อื่น ย่อมจะเจริญก้าวหน้าในชีวิตทั้งในด้านวิชาการ คุณธรรม และสังคม
สุภาษิตนี้จึงเปรียบเสมือนหลักชัยของโรงเรียนวัดฤทธิ์ (คำหมื่นปทุมานุสสรณ์) ที่มุ่งหวังจะสร้างนักเรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และเป็นผู้มีอนาคตที่รุ่งเรืองด้วยสติปัญญาและความดีงาม
|